เลือกภาษา :

Search

ASTM D5769 : Pegasus BT คำตอบการวิเคราะห์อะโรมาติกในแก๊สโซลีน

Gasoline futures are dropping, which could mean more relief at the pumpแก๊สโซลีน (Gasoline) หรือน้ำมันเบนซินเป็นเชื้อเพลิงที่ได้มาจากการกลั่นปิโตรเลียม ที่นำมาใช้กับเครื่องยนต์เบนซินชนิดสันดาปภายในโดยมีหัวเทียนเป็นเครื่องจุดระเบิด (Spark Ignition Internal Combustion Engine) เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพและความสามารถในการระเหยที่เหมาะสม แก๊สโซลีนจะถูกผสมและปรุงแต่งด้วยสารปรับปรุงคุณภาพต่างๆ เช่น แนฟธา (Naphtha), Reformate และสารเติม เช่น MTBE (Methyl Tertiary Butyl Ether), เอทานอล เป็นต้น การเติมสารเติมแต่งเหล่านี้จะเป็นการเพิ่มค่าออกเทน ซึ่งเป็นค่าในเชิงวิทยาศาสตร์หมายถึงตัวเลขที่แสดงเปอร์เซ็นต์มวลไอโซออกเทนผสมระหว่างไอโซออกเทนและเฮพเทน ตัวเลขนี้ใช้บ่งบอกขีดความสามารถของน้ำมัน ในการต้านทานการน็อก (knocking) ของเครื่องยนต์ ซึ่งหากเครื่องยนต์เกิดการน็อกขึ้นก็จะเกิดความเสียหายได้ ตัวเลขค่าออกเทนนี้ยิ่งสูงจึงยิ่งดี

File:MTBE-3D-balls.pngดั้งเดิมการเพิ่มค่าออกเทนจะทำโดยการเติมสารตะกั่วลงไป แต่อย่างที่ทราบโดยทั่วกันว่าตะกั่วเป็นสารมีพิษจึงมีการเลิกใช้ จากนั้นจึงมีการพัฒนามาเติมสาร MTBE ลงไปในน้ำมันแก๊สโซลีน แต่ผลเสียของสารตัวนี้กลับพบว่าเป็นสารที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม อาจทำให้เกิดการปนเปื้อนกับน้ำใต้ดินและน้ำดื่มหลายๆ ประเทศจึงจะมีนโยบายเลิกใช้สาร MTBE นอกจากนี้สำหรับประเทศไทยเองนั้นสาร MTBE ก็เป็นสารที่จำเป็นต้องนำเข้าดังนั้นเราจึงต้องมีทางเลือกอื่นในการเพิ่มค่าออกเทน เช่นการใช้แอลกอฮอล์ผสม โดยแอลกอฮอล์บริสุทธิ์มีค่า RON สูงถึง 107 เมื่อนำมาผสมกับแก๊สโซลีน 91 จะทำให้ได้ค่าออกเทนเป็น 95 ซึ่งแก๊สโซลีนที่ผสมกับแอลกอฮอล์นี้เราจะเรียกกันว่า แก๊สโซฮอล (Gasohol) ข้อดีอีกประการของการเลือกใช้แอลกอฮอลคือ การเพิ่มมูลค่าผลผลิตทางการเกษตรให้มีมูลค่าสูงขึ้น

แต่อย่างไรก็ตามเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพที่ดีที่สุดแก๊สโซลีนและแก๊สโซฮอลจึงถูกควบคุมให้อยู่เกณฑ์ โดยสารประกอบหนึ่งที่ทำให้ค่าออกเทนมีค่าสูงและเป็นอันตรายนั่นก็คือสารอะโรเมติกส์ สารเหล่านี้เป็นสารก่อมะเร็งจึงมีการควบคุมและตรวจวัด ให้อยู่ในมาตรฐานที่กำหนด

วิธีตรวจวัดอะโรเมติกส์ตามมาตรฐาน ASTM มีด้วยกันหลายวิธีไม่ว่าจะเป็น ASTM 5580 หรือ ASTM D5769 ซึ่งเป็นวิธีมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางและใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมสำหรับการวัดเบนซีน โทลูอีน และอะโรเมติกส์ทั้งหมดในน้ำมันเบนซินสำเร็จรูปโดย GC-MS ปัญหาทั่วไปที่พบในวิธีนี้คือความกังวลเกี่ยวกับความอิ่มตัวของแหล่งกำเนิดไอออน ซึ่งนำไปสู่ความไม่เป็นเส้นตรงใน Calibration curve  โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการหาปริมาณอะโรเมติกส์ที่มีความเข้มข้นสูง เช่น โทลูอีน Pegasus BT GC-TOFMS ของ LECO แก้ไขสิ่งเหล่านี้ได้อย่างง่ายดาย ด้วย method ที่ให้ความไวในการวัด อัตราส่วนไอออน และความเป็นเส้นตรงของ calibration curve ซึ่งตอบโจทย์สำหรับการวิเคราะห์อะโรเมติกส์ตามที่ระบุไว้ใน ASTM D5769 โดยไม่เกิดความอิ่มตัวของแหล่งกำเนิดไอออน Calibration curve รวมไปถึงการออกรายงาน

ภาพแสดง Sensitivity check / Ion Abundance check / Calibration check สำหรับตรวจสอบในมาตรฐาน ASTM D5769 รวมถึงโครมาโตแกรมที่ได้จากการวิเคราะห์แก๊สโซลีน 93 พบว่ามีสารประกอบอะโรเมติกส์รวม 10.75% สำหรับผู้สนใจศึกษารายละเอียดและ Application Note เพิ่มเติมคลิก ติดต่อเรา

เลือกประเภทตามการวิเคราะห์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า