เลือกภาษา :

Search

GC-TOFMS เปิดเผยสารเบื้องหลังกลิ่นหอมในเบียร์

เบียร์เป็นที่นิยมมายาวนานในการเฉลิมฉลอง จากข้อมูลของ WalletHub พบว่าเบียร์ขายได้เพิ่มขึ้นในวันเซนต์แพทริคมากกว่าปกติสูงถึง 174%! การที่เบียร์เป็นที่นิยมมากมายขนาดนี้ หากลองคิดเล่นๆว่า ทำไมเบียร์บางตัวถึงมีกลิ่นหอมบางอย่าง หรือเบียร์ส่วนใหญ่มักจะมีกลิ่นเฉพาะตัวที่แตกต่างกันไป บ้างก็มีกลิ่นขม บ้างก็หวาน บ้างก็เข้มข้น หรือหนักหน่วง กลิ่นและรสของเบียร์มีความเชื่อมโยงกันอย่างไม่ต้องสงสัย ดังนั้นการตรวจสอบสิ่งที่อยู่ในเบียร์ หรือสาเหตุของกลิ่นเหล่านี้จึงเป็นการวิเคราะห์ที่เกี่ยวข้อง GC-Time-of-Flight Mass Spectrometry ถูกนำมาใช้ในการใช้ในการวิเคราะห์เบียร์เป็นจำนวนมาก เพื่อวิเคราะห์โปรไฟล์กลิ่นของเบียร์ซึ่งนั่นจะเผยให้เห็นรสชาติที่ผิดเพี้ยนและสารเจือปน ซึ่งนั่นจะสามารถช่วยควบคุมคุณภาพและนำไปสู่ประสบการณ์ที่น่าพึงพอใจแก่ผู้บริโภคได้มากขึ้น

กลิ่นเบียร์: การตรวจจับความแตกต่างของสารวิเคราะห์ด้วย GC-TOFMS และคุณลักษณะอ้างอิงใน ChromaTOF®
ใน Application นี้ GC-TOFMS และซอฟต์แวร์ ChromaTOF ถูกนำมาใช้เพื่อระบุความแตกต่างคราฟต์เบียร์ที่มีจำหน่ายในท้องตลาด โดยเฉพาะสเตาท์ (Stout หรือ เบียร์ดำ) และสเตาท์รสกาแฟ เมื่อวิเคราะห์สารระเหยแบบ Non-targeted จะแสดงลักษณะเฉพาะของตัวอย่างเบียร์เหล่านี้ แต่การเปรียบเทียบด้วยตาก็ยังคงยากที่จะเห็นความแตกต่างของโครมาโตกราฟี TIC เนื่องจากยังคงมีความคล้ายคลึงกันหลายประการของตัวอย่างทั้งสอง ในจุดนี้สามารถใช้ฟีเจอร์ของซอฟต์แวร์ ChromaTOF ในการหาพีคอัตโนมัติและฟีเจอร์ True Signal Deconvolution® ในการวิเคราะห์สาร coeluting และเปรียบเทียบกันโดยใช้ฟีเจอร์ “Reference” ได้

รูปที่ 1 แสดง TIC โครมาโตแกรมของตัวอย่างสเตาท์และสเตาท์รสกาแฟ โดยจากภาพ TIC ของสองตัวอย่างมีความคล้ายคลึงกัน และมีเพียงไม่กี่สาร (หากมี) ที่แตกต่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบด้วยภาพข้อมูล TIC เพียงอย่างเดียว เครื่องมือประมวลผลข้อมูล เช่น Reference ของ ChromaTOF ช่วยระบุความแตกต่างของการวิเคราะห์ที่ซ่อนอยู่ใน TIC โรมาโตแกรมแต่สามารถเห็นได้ใน XIC โครมาโตแกรม ตัวอย่างเช่น  2-furfurylfuran ที่มีลักษณะกลิ่นเข้มข้นและกลิ่นคั่ว ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าเป็นสารที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติในกาแฟ ซึ่งสามารถสังเกตได้ในสเตาท์กาแฟที่มี XIC m/z 148 และไม่พบในตัวอย่างสเตาท์ทั่วไป

ความสัมพันธ์ของข้อมูลทางเคมีและประสาทสัมผัสในการติดตามการบ่มเบียร์ American IPAที่อุณหภูมิการจัดเก็บต่างกัน
ความคงตัวของชั้นวางและการเปลี่ยนแปลงของผลิตภัณฑ์ตามการบ่มและสภาพการเก็บรักษาเป็นหัวข้อสำคัญสำหรับทั้งผู้ผลิตและผู้บริโภค การทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงโปรไฟล์ของกลิ่นเมื่อเวลาผ่านไปสามารถช่วยให้เข้าใจอายุการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์นั้นได้ และอาจเป็นไปได้ที่จะสามารถขยายเวลาการเก็บรักษาออกไปได้ ในงานนี้ เรารวมการวิเคราะห์ทางเคมีเข้ากับการวิเคราะห์ทางประสาทสัมผัสเพื่อตรวจสอบความคงตัวของการเก็บรักษาเบียร์ American IPA บรรจุขวดที่เกี่ยวข้องกับอุณหภูมิในการเก็บรักษา มีการรวบรวมชุดตัวอย่างเบียร์บรรจุขวดตามลำดับเวลา เพื่อให้ในวันที่ทำการวิเคราะห์จะได้เบียร์สดและเบียร์ที่มีอายุ 1, 2, 4 และ 10 สัปดาห์ ข้อมูลทางเคมีและประสาทสัมผัสถูกนำมารวมกัน และเราสังเกตว่าความสดโดยทั่วไปลดลงตามระยะการบ่ม และการย่อยสลายนี้เกิดขึ้นในอัตราที่เร็วกว่าเมื่อมีการจัดเก็บที่อุณหภูมิสูงขึ้น เมื่อเทียบกับการจัดเก็บที่อุณหภูมิต่ำกว่า การใช้ชุดข้อมูลทั้งสองชุดร่วมกันทำให้เราสามารถเข้าใจตัวอย่างเหล่านี้ได้ดีขึ้นมากกว่าที่เราศึกษาข้อมูลชุดใดชุดหนึ่งแยกจากกัน

รูปที่ 2 แสดงโครมาโตกราฟีที่ซ้อนโครมาโตแกรมตัวอย่างทั้งหมด เพื่อให้เห็นความแตกต่างที่โดดเด่นและแนวโน้มการหายไปของสารนั้นๆ และแผนภาพแสดงความสัมพันธ์ของคะแนนทางประสาทสัมผัสกับ PC1 จากการวิเคราะห์ทางเคมีแสดงให้เห็นแนวโน้มในทิศทางเดียวกัน และแผนภาพ Heat map แสดงพีคสารวิเคราะห์ซึ่งมีความสัมพันธ์กับคะแนนทางประสาทสัมผัส

ติดต่อเรา เพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการวิเคราะห์ทางประสาทสัมผัสและทางเคมีด้วยเทคนิค GC-TOFMS ด้วยเครื่อง Pegasus® BT จาก LECO

เลือกประเภทตามการวิเคราะห์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า