เลือกภาษา :

Search

Kjeldahl vs Dumas: Modern Protein Analysis

นับตั้งแต่ทศวรรษ 1800 วิธีหลักๆ ในการวัดปริมาณโปรตีนมีด้วยกัน 2 วิธี ได้แก่ วิธีเจลดาห์ล (Kjeldahl) และวิธีดูมัส (Dumas) ทั้งสองวิธีใช้หลักการวัดไนโตรเจนในตัวอย่างและใช้การคำนวณทางคณิตศาสตร์เพื่อแปลงให้เป็นปริมาณโปรตีน แม้ว่าวิธีดูมัสจะเป็นวิธีที่เก่ากว่า แต่วิธีเจลดาห์ล กลับได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วเนื่องจากที่ค่อนข้างง่าย แต่เมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ วิธีดูมัสก็เริ่มได้รับความนิยมอีกครั้ง

วิธีเจลดาห์ลเป็นวิธีดั้งเดิมในการย่อยทางเคมีแบบเปียก โดยมี 3 ขั้นตอนทั่วไป:

  1. การย่อยตัวอย่างในกรดซัลฟิวริกเข้มข้น (H2SO4) ด้วยตัวเร่งปฏิกิริยาที่เปลี่ยนไนโตรเจนภายในตัวอย่างเป็นแอมโมเนียมซัลเฟต (NH4)2SO4 ขนาดตัวอย่างโดยทั่วไปอยู่ระหว่าง 100 มิลลิกรัมถึง 1 กรัม
  2. การทำให้เป็นกลางโดยใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์เข้มข้น (NaOH) ซึ่งเปลี่ยนแอมโมเนียมซัลเฟตให้กลายเป็น NH3
  3. การกลั่นของ NH ให้เป็นกรดมาตรฐานเพื่อทำการไตเตรทกลับด้วยด่างมาตรฐานสำหรับหาปริมาณ

แม้ว่าวิธีนี้จะใช้ได้กับตัวอย่างอาหารเกือบทั้งหมด และเป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายในกลุ่มอาหารและอาหารสัตว์ แต่ก็ยังมีปัญหาบางอย่างเกี่ยวกับวิธีเจลดาห์ล นั่นคือ ตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดนั้นใช้ปรอทหรือซีลีเนียม ซึ่งไม่ได้ใช้ในกฎระเบียบ หรือข้อควรระวังด้านสิ่งแวดล้อมอีกต่อไป สิ่งนี้นำไปสู่การวิเคราะห์ด้วยการใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีประสิทธิภาพน้อยกว่า ซึ่งอาจส่งผลให้ recovery ของไนโตรเจนนั้นไม่สมบูรณ์และส่งผลให้ได้ผลลัพธ์ที่ไม่ถูกต้อง ในขณะที่การวิเคราะห์เองอาจใช้เวลาหลายชั่วโมง และต้องการช่างเทคนิคในห้องปฏิบัติการที่ได้รับการฝึกอบรมมาอย่างดีพร้อมอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ตู้ดูดควัน และการกำจัดของเสียที่เหมาะสมอีกมากมาย

สำหรับวิธีดูมัส (Dumas) เป็นวิธีการเผาไหม้ โดยมี 3 ขั้นตอนทั่วไป:

  1. ตัวอย่างถูกเผาไหม้ด้วยออกซิเจน จากนั้น โปรตีน-ไนโตรเจน จะถูกส่งไปเป็นของผสมในรูปของก๊าซ N2/NOX
  2. NOX จะถูกรีดิวซ์เหลือ N2 และก๊าซเผาไหม้อื่นๆ (เช่น O2, CO2 และไอน้ำที่มากเกินไป) จะถูกกำจัดออก
  3. ตรวจวัดไนโตรเจนด้วยเครื่องตรวจจับการนำความร้อน (thermal conductivity, TC)

200630_CHN828_450px

ในช่วงแรก เทคนิคการเผาไหม้นับเป็นความท้าทายอย่างมากสำหรับช่างเทคนิคในห้องปฏิบัติการ และต้องใช้ทักษะทางเทคนิคในระดับที่สูง ซึ่งทำให้วิธีเจลดาห์ลได้รับความนิยมมากกว่า แต่อย่างไรก็ตาม เมื่อมีการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นไป เครื่องมือที่ใช้เตาเผาไหม้รุ่นใหม่ เช่น 828 series ของ LECO ช่วยขจัดปัญหาเหล่านั้น ไม่ว่าจะเป็นของแข็ง ของเหลว หรือของเหลวข้นหนืด ตัวอย่างจะถูกใส่ลงในอุปกรณ์ ซึ่งอาจเป็นแคปซูล ฟอยล์ หรือเซรามิกโบท ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวอย่าง และนำไปตัวอย่างไปใส่ในเครื่อง เครื่องจะจัดการกระบวนการที่เหลือ และสามารถวิเคราะห์ตัวอย่างได้ในเวลาเพียงแค่ 3 นาที

ด้วยเครื่องที่ทันสมัยนี้ ทำให้วิธีการของ Dumas มีข้อดีมากกว่าวิธีเจลดาห์ล หลายประการทั้ง เร็วกว่า ราคาต่อการวิเคราะห์ถูกกว่า ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมและช่างเทคนิค และยังสามารถทำงานอัตโนมัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับผู้ที่สนใจ และอยากทราบรายละเอียดเพิ่มเติมของวิธีการวิเคราะห์ทั้งสองนี้ สามารถกรอกแบบฟอร์มด้านล่างเพื่อขอรับเอกสารทางเทคนิคของเราที่เปรียบเทียบการวิเคราะห์ทั้งเจลดาห์ล (Kjeldahl) และดูมัส (Dumas)

เลือกประเภทตามการวิเคราะห์

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า