คุณรู้หรือไม่ว่าเราสามารถพบไมโครพลาสติกได้ในทุกที่บนโลก ตั้งแต่ในหิมะที่อาร์กติกไปจนถึงน้ำแข็งในแอนตาร์กติก รวมถึงในทุกๆ ที่ระหว่างนั้น ไมโครพลาสติกหลายล้านล้านอนุภาคที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ และมีการสันนิษฐานว่าทุกคนตั้งแต่ทารกจนถึงผู้ใหญ่ได้กินพลาสติกเหล่านี้เข้าไปจากทุกที่ตั้งแต่หลายสิบไปจนถึงหลายหมื่นอนุภาคในทุกๆ วัน ซึ่งจากข้อมูลทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับไมโครพลาสติก โดยเฉพาะอย่างยิ่งนาโนพลาสติกที่มีขนาดเล็กพบว่าอาจทำลายเซลล์ได้อย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งนี่นับเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น ไมโครพลาสติกเหล่านี้ยังคงเป็นสิ่งที่ไม่ทราบแน่ชัดถึงผลกระทบของมัน ส่วนใหญ่เป็นเพราะเราไม่ทราบขนาดที่แน่นอนของไมโครพลาสติก จากชื่อของมันแล้วพวกมันมองเห็นได้ยาก เว้นแต่คุณจะมองพวกมันใน Second dimension
เทคนิคที่มีอยู่แล้วสำหรับการระบุไมโครพลาสติกอนุภาคเดียวและเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป นั่นคือ Fourier-Transform Infrared (FTIR) และ Raman spectroscopy ซึ่งยังมีข้อจำกัดที่กำหนดไว้สำหรับวิเคราะห์สารผสมพอลิเมอร์-เคมี ขนาดอนุภาค และเวลาในการวิเคราะห์ตัวอย่าง เมื่อพยายามต่อสู้กับปัญหาเหล่านี้ เทคนิคที่เชื่องช้าและจำกัดจึงต้องดิ้นรนเพื่อให้ทันกับความต้องการ
เทคนิคโครมาโตกราฟีแบบ full-scan เช่น Gas Chromatography Time-of-Flight Mass Spectrometry (GC-TOFMS) จะช่วยให้มองเห็นภาพรวมของสารประกอบทุกตัวในตัวอย่างที่กำหนดเมื่อขยายไปสู่มิติที่สอง (GCxGC TOFMS) และรวมกับ Pyrolysis (Py) และ Thermal Desorption (TD) เทคนิคนี้จะช่วยให้การแยกด้วยโครมาโตกราฟีมีประสิทธิภาพด้วยข้อมูล mass spectrum คุณภาพสูงพร้อมการเตรียมตัวอย่างเพียงเล็กน้อย ผลิตภัณฑ์จากการย่อยสลายไมโครพลาสติก สารเติมแต่ง และส่วนผสมที่ซับซ้อนอื่นๆ ของสารเคมีที่พบในสิ่งแวดล้อมทั้งหมดสามารถแยกออก ตรวจพบ และระบุในการวิเคราะห์ภายในตัวอย่างเดียวกัน
เพื่อพิสูจน์ว่านี่เป็นมากกว่าแค่ทฤษฎี LECO Europe ได้ร่วมมือกับ Imperial College, London และ Helmholtz Zentrum เมืองมิวนิก เพื่อพิสูจน์แนวคิดเกี่ยวกับวิธีการวิเคราะห์ตัวอย่างสำหรับอนุภาคไมโครพลาสติก เรียนรู้เพิ่มเติมจากบทความของพวกเขาใน Chromatography Today
เผยแพร่เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564
ห้องปฏิบัติการ: EU Laboratory
หัวข้อ: Mass Spectrometry, Separation Science/Mass Spectrometry, GCxGC, Separation Science